วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

องค์ประกอบหลักๆ ของ การทำ Portfolio

::องค์ประกอบหลักๆ ของ Portfolio ที่สมบูรณ์
1.หน้าปกควรออกแบบให้สะดุดุตา แบบเห็นปุ๊บแล้วคนหยิบขึ้นมาอ่านปั๊บเลยค่ะ ถ้าหน้าตาดีก็ใส่รูปตัวเองลงไป present ตัวเองเต็มที่ เข้าใจง่าย สรุปเนื้อหา และ มีรายละเอียดครบถ้วนคือ ของใคร ชั้นอะไร เรียนที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด ฯลฯ (แต่ต้องเน้นส่วนที่เป็นตัวของเราที่สุด ทำออกมาให้เป็นตัวของตัวเอง)
2.ประวัติส่วนตัวนำเสนอตัวเองเต็มที่เลย ประวัติทางด้านสถานศึกษา ถ้าจะให้ดี ขอแนะนำว่าให้ทำเป็น 2 ชุด คือ ส่วนที่เป็นภาษาไทย รวมไปถึงข้อมูลที่เป็น personal data และส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษนั่นเอง เพื่อแสดงความสามารถของตนให้แฟ้มดูน่าเชื่อถือมากขึ้น
3.ประวัติทางการศึกษาให้เรียงลำดับจากการศึกษาที่น้อยสุด จนกระทั่งปัจจุบันและผลสรุปของผลการเรียนที่ได้ครั่งล่าสุดควรเน้นเป็นส่วนท้ายที่เห็นเด่นชัดที่สุด(อาจมีเอกสารรับรองผลการเรียนแนบมาด้วยก็ได้ จะดีมาก)
4.รางวัลและผลงานที่ได้รับเขียนในลักษณะเรียงลำดับการได้รับ จากปี พ.ศ.(ในส่วนนี้ไม่ขอแนะนำว่าต้องใส่เกียรติบัตรลงไป เพราะอาจทำให้แฟ้มดูไม่มีจุดเด่น เพราะมันเด่นหมด ควรไปเน้นข้อต่อไปดีกว่า)
5.รางวัลและผลงานที่ประทับใจเป็นผลงานหรือรางวัลที่ได้รับ และเกิดความภาคภูมิแบบสุดๆ รางวัลแบบนี้แหละที่เป็นรางวัลแห่งชีวิตข้าพเจ้า (ควรใส่หลักฐานลงไปด้วยอาจมีรูปถ่ายประกอบจะดีมาก)
6.กิจกรรมที่ทำในโรงเรียนเช่นเป็นประธานนักเรียน กิจกรรมในชมรม หรืออย่างอื่นใส่เพื่อให้รู้ว่าเรามีประสบการณ์จากการทำงาน หรือตรงส่วนนี้จะใช้เป็นงานพิเศษที่กำลังทำก็ได้ หากเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยจะทำให้ผลงานมีคุณค่ามากขึ้น คนหยิบขึ้นมาอ่านจะเห็นคุณค่าของเราตรงนี้ อาจมีเอกสารแสดงด้วยจะดีมากค่า)
7.ผลงานตัวอย่างคือ งานหรือรายงานที่คิดว่าภาคภูมิใจมากที่สุดจากการเรียนที่ผ่านมา เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ รายงาน การวิจัยต่างๆ อาจนำเสนอใน 5 รายวิชาหลัก เป็นต้น
8.ความสามารถพิเศษต่างๆ ควรโชว์ในความสามารถพิเศษที่คนทั่วไปมีอยู่เป็นส่วนน้อยที่สามารถทำได้ หรือเป็นความสามารถพิเศษที่สามารถสอดคล้องกับคณะ ที่เราต้องการศึกษาต่อ หรือถ้าไม่มี ก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไปค่ะ เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือ กีฬา ฯลฯในแต่ละหัวข้อถ้าหากมีการแสดงรูปถ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยจะดีมากๆค่ะ ขอให้แฟ้มสะสมผลงานของเพื่อนๆ ออกมาน่ารักกันทุกคน

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ดีดี ของยาสีฟัน

ยาสีฟัน เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ที่หาได้ง่าย และมีแทบจะทุกบ้าน สะกิด มีประโยชน์ของยาสีฟัน มาฝาก
ทำความสะอาด คราบและรอยขีดข่วน บนพื้นผิววัสดุ ขัดหน้าปัดนาฬิกา แตะกับเศษผ้าสักหลาดแล้วขัดเบาๆ ช้อน ส้อม สเตนเลส ขัดถูด้วยผ้านุ่ม
รอยขีดข่วนบนกระจกปูโต๊ะ ป้ายที่รอยแล้วใช้ผ้านุ่มขัดเบาๆ
รอยสกปรกบนโต๊ะพลาสติก เครื่องประดับเงินแท้ แตะสำลีหรือผ้านุ่มๆ ขัดถู
หัวก็อกน้ำ ใช้เศษยาสีฟันที่ร่วงขณะแปรงฟันขัดถูหัวก็อก จะเงาเป็นประกาย บรรเทาอาการแสบร้อน
คราบลิปสติกที่ติดเสื้อ ใช้ยาสีฟันทารอยเปื้อนแล้วซักตามปกติ
กลิ่นแรงที่ติดมือหลังทำครัว อย่างกลิ่นกระเทียม หอม แตะยาสีฟันเล็กน้อยแล้วล้างมือกับสบู่ กลิ่นจะหายไป ลองทำดูนะคะ

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

6 วิธี เสริมภูมิ..ต้านโรค

1. ลดความเครียด..อารมณ์เครียดจะส่งผลเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ ลดลงจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย จึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเครียด
2. นอนหลับให้เพียงพอ..การนอนไม่พอนั้นมีผลลดการสร้างเซลล์ในระบบภูมิต้านทาน เช่น แอนติบอดี โดยการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยชิคาโก ในผู้ที่นอนหลับคืนละ 7 ชม.เป็นเวลา 4 วัน แล้วให้วัคซีนไข้หวัด พบว่าคนกลุ่มนี้จะสามารถสร้างแอนติบอดี ซึ่งเป็นเซลล์ในระบบภูมิต้านทานต่อเชื้อไข้หวัดได้มากกว่าผู้ที่นอนหลับคืนละ 4 ชม. ถึง 50%
3. ดื่มน้ำเปล่ามากๆ.. อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว น้ำจะช่วยเพิ่มสารคัดหลั่งและความชุ่มชื้นของเยื่อบุผิวในท่อทางเดินหายใจส่วนบน ที่จะช่วยป้องกัน และดักจับฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
4. ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเป็นประจำ..นอกจากช่วยให้กล้ามเนื้อร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยขับของเสียผ่านทางเหงื่อ และเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดทำให้เซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิต้านทาน เช่น แอนติบอดีและเม็ดเลือดขาว เดินทางไปทำลายสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่บริเวณอวัยวะต่างๆ ได้เร็วขึ้น
5. รับประทานอาหารให้ครบถ้วนเพียงพอตามหลักโภชนาการ..โดยเฉพาะอาหารเสริมภูมิต้านทาน อย่างเช่น ผัก ผลไม้ ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี และแร่ธาตุบางชนิด ได้แก่ ซีลีเนียม และสังกะสี ซึ่งมีผลเพิ่มการสร้างเซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และอี ยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์ต่างๆ ของร่างกายจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระอันเป็นตัวการก่อมะเร็งได้อีกด้วย เบต้าแคโรทีน มีมากในผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือส้มจัด ผักใบเขียวจัด เช่น ผักบุ้ง ฟักทอง แครอท มะละกอ มะม่วงสุก มะเขือเทศ วิตามินซี พบในผักใบสีเขียวต่างๆ และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะขาม วิตามินอี พบในน้ำมันพืชประเภทน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว งา ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่างๆ ข้าวกล้อง จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว วิตามินบี พบในผักใบเขียว นม เนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ ตับ ไข่ และธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ซีลีเนียม พบในอาหารทะเล ตับ ไต เนื้อสัตว์ กระเทียม ไข่ และธัญพืช สังกะสี พบในเนื้อวัว นม และถั่วต่างๆ กระเทียม เป็นเครื่องเทศที่มีฤทธิ์เสริมภูมิต้านทานโดยสารอัลลิซิน (allicin) และซัลไฟด์ (sulfides) ในกระเทียมจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย กรดโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดขา และแอนติบอดี พบมากในปลาทะเล เช่น แซลมอน หรือทูน่า และธัญพืชบางชนิด เช่น ถั่ววอลนัท เมล็ดปอ รวมทั้งพืชผักใบเขียว โยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์และโตแบคทีเรีย (kactibacterua) เช่น แลคโตบาซิลัส แอซิโดฟิลัส (lactobacillus adidophilus) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยจะยับยั้งการเกิดจุลินทรีย์ตัวร้ายในระบบย่อยอาหาร เช่น แบคทีเรีย รา หรือยีสต์ รวมทั้งยังกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวและแอนติบอดีให้กำจัดเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6. หลีกเลี่ยงอาหาร..หรือพฤติกรรมที่ส่งผลให้ภูมิต้านทานอ่อนแอลง..เช่น เลี่ยงการกินอาหารหวานจัด ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เกินวันละ 2 แก้ว ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป ด้วยวิธีง่ายๆ ใกลตัวเราเหล่านี้ ก็จะสามารถคงไว้ซึ่งสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคร้ายต่างๆ และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขไปนานๆ